เสนอ ดร.สมจิต สงสาร จัดทำโดย ปาลิตา บุญราศรี นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์)

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom

ทฤษฎี ความคาดหวังของ Vroom(Exectancy  Theory)


การศึกษา
           PhD University of Michigan, 1958
          ปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

     
MPs.Sc. McGill University, 1955
          ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยแม็คกิล

   B.Sc. McGill University, 1953
          ปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยแม็คกิล
    วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) ต้นกำเนิดคือชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร  โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ   หนังสือของเขาในปี 1964  เรื่อง Work and Motivation (งานและการกระตุ้น)  ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสืออีกเล่มของเขา เกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหาร Leadership and Decision Making and The New Leadership (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษาและการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา    ศาสตราจารย์วรูมได้เป็นที่ปรึกษากว่า 50 บริษัท หลักๆคือ Bell Labs (เบลแลป), GTE (จีทีอีAmerican  Express (อเมริกันเอกซ์เพรส) และ General  Electric (จีอี)
ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom.
 ทฤษฎีความคาดหวังถูกนำเสนอโดย Victor Vroom (1964) ได้เสนอรูปแบบของความคาดหวังในการทำงานซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในการอธิบายกระบวนการจูงใจของมนุษย์ในการทำงานโดยVroom มีความเห็นว่าการที่จะจูงใจให้พนักงานทำงานเพิ่มขึ้นนั้นจะต้องเข้าใจกระบวนการทางความคิดและการรับรู้ของบุคคลก่อน โดยปกติเมื่อคนจะทำงานเพิ่มขึ้นจากระดับปกติเขาจะคิดว่าเขาจะได้อะไรจากการกระทำนั้นหรือการคาดคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเขาได้แสดงพฤติกรรมบางอย่างในกรณีของการทำงาน พนักงานจะเพิ่มความพยายามมากขึ้นเมื่อเขาคิดว่าการกระทำนั้นนำไปสู่ผลลัพธ์บางประการที่เขามีความพึงพอใจ เช่น เมื่อทำงานหนักขึ้นผลการปฏิบัติงานของเขาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นทำให้เขาได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งและได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น
                          
    Vroom ได้เสนอรูปแบบของความคาดหวังในการทำงานเรียกว่า VIE Theory ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในการอธิบายกระบวนการจูงใจของมนุษย์ในการทำงาน
    V=Valance หมายถึงระดับความรุนแรงของความต้องการของบุคคลในเป้าหมายรางวัลคือคุณค่าหรือความสำคัญของรางวัลที่บุคคลให้กับรางวัลนั้น
      I = Instrumentality  หมายถึงความเป็นเครื่องมือของผลลัพธ์ (outcomes) หรือรางวัลระดับที่ 1 ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ 2 หรือรางวัลอีกอย่างหนึ่ง คือเป็นการรับรู้ในความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่ได้      (เชื่อมโยงรางวัลกับผลงาน)
     
E= Expectancy ได้แก่ ความคาดหวังถึงความเป็นไปได้ของการได้ซึ่งผลลัพธ์หรือรางวัลที่ต้องการเมื่อแสดงพฤติกรรมบางอย่าง
                                 
ตามหลักทฤษฎีความคาดหวังจะแย้งว่า  ผู้บริหารจะต้องพยายามเข้าไปแทรกแซงในสถานการณ์การทำงาน  เพื่อให้บุคคลเกิดความคาดหวังในการทำงาน   
 1. สร้างความคาดหวังโดยมีแรงดึงดูด  ซึ่งผู้บริหารจะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถ ให้การอบรมพวกเขา  ให้การสนับสนุนพวกเขาด้วยทรัพยากรที่จำเป็น และระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
   2. ให้เกิดความเชื่อมโยงรางวัลกับผลงาน โดยผู้บริหารควรกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผลการปฏิบัติงานกับรางวัลให้ชัดเจน และเน้นย้ำในความสัมพันธ์เหล่านี้โดยการให้รางวัลเมื่อบุคคลสามารถบรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
  3. ให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผลงานกับความพยายามซึ่งเป็นคุณค่าจากผลลัพธ์ที่เขาได้รับผู้บริหารควรทราบถึงความต้องการของแต่ละบุคคล  และพยายามปรับการให้รางวัลเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานเพื่อเขาจะได้รู้สึกถึงคุณค่าของผลลัพธ์ที่เขาได้รับจากความพยายามของเขา
                                  
มีการแบ่งรางวัลออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. รางวัลภายนอก
(Extrinsic rewards) เป็นรางวัลที่นอกเหนือจากการทำงาน เช่น การเพิ่มค่าตอบแทน  การเลื่อนตำแหน่ง หรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ
  2. รางวัลภายใน
(Intrinsic  rewards) เป็นรางวัลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ประกอบด้วย ความรับผิดชอบ  ความท้าทาย หรือเป็นผลลัพธ์ของการทำงานที่มีคุณค่าเชิงบวกซึ่งบุคคลได้รับโดยตรงจากผลลัพธ์ของการทำงาน ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกของความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ความท้าทาย
ปัจจัยหลักทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom มี 4 ประการ คือ
   1. ความคาดหมาย หรือความคาดหวัง คือ ความเชื่อเกี่ยวกับความน่าจะเป็นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจะก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 
   2. ความพอใจ คือ ความรุนแรงของความต้องการของพนักงานสำหรับผลลัพธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งความพอใจอาจจะเป็นบวกหรือลบได้ภายในสถานการณ์ของการทำงานเราอาจจะคาดหมายได้ว่าผลลัพธ์ เช่น ผลตอบแทน การเลื่อนตำแหน่ง
    3. ผลลัพธ์ คือ ผลที่ติดตามมาของพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจจะแยกประเภทเป็นผลลัพธ์ระดับที่หนึ่ง  และผลลัพธ์ระดับที่สองผลลัพธ์ระดับที่หนึ่งจะหมายถึงผลการปฏิบัติงานที่สืบเนื่องมาจากการใช้กำลังความพยายามของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น หรือการเลื่อนตำแหน่ง
    4. สื่อกลาง หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ระดับที่หนึ่ง
                                                   
          สรุปได้ว่า  ความคาดหวังเป็นความรู้สึกของบุคคลถึงพฤติกรรม หรือตำแหน่ง ที่เหมาะสมของตนเอง หรืออาจเป็นความรู้สึกถึงความเหมาะสมในบทบาทของผู้อื่น หรืออีกนัยหนึ่งความคาดหวังของบุคคล  เป็นความรู้สึกของบุคคลต่อตนเองอย่างหนึ่งว่าตนเองควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือต่องานที่ตนรับผิดชอบอยู่  ความคิดดังกล่าวนี้ยังรวมไปถึงการคิดถึงบุคคลอื่น เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน
อ้างอิง    Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York: John Wiley & Sons.









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น